วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กฎหมาย

1.   ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2.   ความสำคัญของกฎหมาย
2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง
2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อ่านต่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ อ่านต่อ

ระบอบการเมืองการปกครอง

การปกครองแบบประชาธิปไตย 
หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสูงสุด โดยเน้นสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนเท่ากันทุกคน

รูปแบบของประชาธิปไตยมี 2 แบบ คือ
  1. ประชาธิปไตยทางตรง หมายถึง การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยใช้อำนาจอธิปไตยด้วยตนเอง
  2. ประชาธิปไตยทางอ้อม หมายถึง การที่ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน อ่านต่อ

สิทธิมนุษยชน

 สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ อ่านต่อ

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ที่บุคคลหนึ่งๆ พึงได้รับตามกฎหมาย เช่น การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การรักษาพยาบาลจากรัฐ เป็นต้น
       เสรีภาพ หมายถึง ความเป็นอิสระของบุคคลที่จะกระทำการใดๆภายในขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น การแสดงออก การนับถือศาสนา การเดินทาง เป็นต้น
      รัฐบาลไทยได้ให้ความสัมพันธ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้พิจารณาได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งได้บัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ใน หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย อ่านต่อ